นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ
๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗
ทรงพระเจริญ
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
กับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๕
ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระเชษฐภคินี ๑ พระองค์ คือ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี
และพระขนิษฐภคินี ๒ พระองค์ คือ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
และสมเด็จเจ้าฟ้า ฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
พ.ศ. ๒๕๑๓ - ๒๕๑๔
ทรงเข้ารับการศึกษา
พ.ศ. ๒๔๙๙ - ๒๕๐๙
ระดับอนุบาล ที่พระที่นั่งอุดรพระราชวังดุสิต และโรงเรียนจิตรลดา
พ.ศ. ๒๕๐๙ - ๒๕๑๓
ระดับประถมศึกษา ที่โรงเรียนคิงส์มีด (King's Mead School)
เมืองซีฟอร์ด ประเทศอังกฤษ
ระดับมัธยมศึกษา ที่โรงเรียนมิลล์ฟิลด์ (Millfield School)
เมืองสตรีท ประเทศอังกฤษ
วิชาเตรียมทหารที่โรงเรียนเตรียมทหาร
ณ โรงเรียนคิงส์ (The King's School, Parramatta) นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย
พ.ศ. ๒๕๑๕ - ๒๕๑๙
วิชาการทหารชั้นสูงที่วิทยาลัยการทหารดันทรูน (Duntroon)
แคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย และที่คณะการศึกษาด้านการทหาร
มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ (University of New South Wales) ประเทศออสเตรเลีย
พ.ศ. ๒๕๒๐ - ๒๕๒๑
วิชาเสนาธิการทหารที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักสูตรประจำชุดที่ ๕๖
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ - ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๐
ทรงศึกษาในสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
โดยทรงสำเร็จการศึกษาปริญญานิติศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ ๒
พ.ศ. ๒๕๓๓
ทรงเข้ารับการศึกษา ณ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรแห่งราชอาณาจักร
พ.ศ. ๒๕๔๗
ทรงเข้าศึกษาหลักสูตรนักบินพาณิชย์เอก จากบริษัท การบินไทย
ทรงผนวช
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
มีพระทัยศรัทธาจะอุปสมบทในพระพุทธศาสนา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จึงโปรดเกล้าฯ
ให้ทรงผนวชในวันจันทร์ที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๑ ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) เป็นพระอุปัชฌาย์
ผนวชแล้วเสด็จฯ ไปประทับ ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร
พระมหารัชมงคลดิลก (บุญเรือน ปุณฺณโก) เป็นพระอภิบาล
ทรงผนวชอยู่ ๑๕ วันจึงทรงลาผนวช เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๑
ทรงดำรงพระราขอิสริยยศสยามมกุฎราชกุมาร
เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
มีพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ
ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ มีพระนามตามจารึกในสุพรรณบัฏว่า
“สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
สิริกิติยสมบูรณสวางควัฒน์ วรขัติยราชสันตติวงศ์ มหิตลพงศอดุลยเดช
จักรีนเรศยุพราชวิสุทธิ สยามมกุฎราชกุมาร”
เสด็จขึ้นทรงราชย์
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙
เสด็จสวรรคต เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
ประธานรัฐสภาได้อัญเชิญสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
องค์รัชทายาทตามกฎหมายมณเฑียรบาล ขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์จึงทรงเป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๑๐
ตั้งแต่วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
ตามประกาศสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ณ วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ในวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ พระบรมมหาราชวัง
เมื่อเสร็จสิ้นการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรแล้ว
โดยทรงเฉลิมพระปรมาภิไธยตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร
กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
“เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม
เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป”
กษัตริย์จ้าวเวหา
เจ้าฟ้านักบิน
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระปรีชาชาญในวิทยาการด้านการบิน
พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยในด้านอากาศยานและด้านการบินมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
ทรงรอบรู้เทคนิคสมัยใหม่ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
ประกอบกับทรงวิริยะอุตสาหะในการเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ในด้านการบินอยู่ตลอดเวลา
ทรงมีความชำนาญในการบังคับอากาศยานชนิดต่าง ๆ ทั้งอากาศยานทหารและอากาศยานพาณิชย์
จึงทรงได้รับการถวายพระสมัญญานาม
เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ มกุฏราชกุมาร ว่า "เจ้าฟ้านักบิน"
โดยมหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย
ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ธุรกิจการบิน) ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๖
ในฐานะที่พระองค์ทรงเปี่ยมด้วยพระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพด้านการบินยากหาผู้ใดเทียบเทียม
พระบรมราโชวาท
“....งานของครูนั้น ถือได้ว่าเป็นงานสร้างสรรค์อย่างแท้จริง
เพราะเป็นการวางรากฐานความรู้ ความดี และความสามารถทุก ๆ ด้านแก่ศิษย์
เพื่อช่วยให้สามารถดำรงตนเป็นคนดี มีอาชีพเป็นหลักฐานและเป็นประโยชน์ต่อสังคม
เพราะเหตุที่งานของครูเป็นงานที่หนักและเป็นงานสร้างสรรค์ที่บริสุทธิ์
ผู้เป็นครูจึงต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความตั้งใจที่แน่วแน่ ด้วยความพากเพียร อดทน
และด้วยความเมตตากรุณาอย่างสูง ทั้งต้องสำรวมระวังตน
ในเรื่องความประพฤติปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ไม่ปล่อยตัว ปล่อยใจ
ไปตามความต้องการที่ไม่สมควรแก่ฐานะและเกียรติภูมิของครู ….”
(พระบรมราโชวาทแก่คณะกรรมการคุรุสภา คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
และคณะกรรมการมูลนิธิช่วยครูอาวุโสในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี ๒๕๕๙
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑)
“งานราชการนั้น ต้องอาศัยความรู้ ๓ ส่วนในการปฏิบัติคือความรู้ในหลักวิชาที่ถูกต้อง
แม่นยำ ลึกซึ้ง กว้างขวาง ความรู้ในการปฏิบัติบริหารงานตามการะหน้าที่
และความรู้คิดวินิจฉัยที่ถูกต้องด้วยเหตุผล หลักวิชา และหลักธรรม
ข้าราชการทุกคนจึงต้อสร้างสม อบรมความรู้ทั้งสามส่วนนี้ ให้สมบูรณ์พร้อม
อย่าให้บกพร่องในส่วนใดเป็นอันขาด จะได้สามารถปฏิบัติงานให้บรรลุผลเป็นประโยชน์ที่แท้
ทั้งแก่ประเทศชาติและประชาชน”
(พระบรมราโชวาทเนื่องในวันข้าราชการพลเรือน ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓
ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓)
"งานราชการนั้น เป็นงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับวิถีชีวิตของประชาชน
ซึ่งมีความเปลี่ยนแปลงอยู่เป็นปรกติ ตามสถานการณ์และกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป
ข้าราชการทุกคนจึงต้องทำความเข้าใจงานในหนัาที่ของตนให้กระจ่างชัด
และรู้เท่าทันความเปลี่ยนเปลงที่เกิดขึ้น แล้วปฏิบัติหน้าที่ให้สอดคล้องเหมาะสม
โดยยึดมั่นแน่วแน่อยู่ในเป้าหมายของการปฏิบัติราชการ
คือ ประโยชน์สุขของประชาชน และความเจริญมั่นคงของประเทศชาติ"
(พระบรมราโชวาทเนื่องในวันข้าราชการพลเรือน ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๔)
"ข้าราชการ คือ ผู้ที่ทำงานเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน
จึงจำเป็นต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ ว่าสิ่งใดคือประโยชน์ สมควรปฏิบัติ
และสิ่งใดไม่ใช่ประโยชน์ ไม่สมควรปฏิบัติ
ความเข้าใจทั้งนี้ เป็นผลจากวิจารณญาณอันเที่ยงตรงถูกต้อง
ซึ่งข้าราชการทุกคนควรจะได้ฝึกฝนและสร้างสมให้เป็นคุณสมบัติประจำตัวสืบไป"
(พระบรมราโชวาทเนื่องในวันข้าราชการพลเรือน ประจำปี ๒๕๖๕
ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๕)
"….การทำงานทุกอย่าง ย่อมต้องมีปัญหาข้อขัดข้องเกิดขึ้นบ้าง เป็นเรื่องปรกติธรรมดา
แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะต้องรีบปฏิบัติแก้ไข ไม่ปล่อยทิ้งไว้ให้เกิดความเสียหายแก่งานได้
ผู้ปฏิบัติบริหารงานจึงต้องเอาใจใส่ติดตามผลการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด
จักได้ทราบถึงปัญหาสาเหตุที่เกิดขึ้นและปฏิบัติแก้ไขได้ถูกต้องทันท่วงที…."
(พระราโชวาทแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันราชภัฏ ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๙)
"….สังคมดำรงอยู่ได้ด้วยการกระทำประโยชน์เกื้อกูลกัน
และทุกคนที่อยู่ร่วมกันย่อมเป็นทั้งผู้รับและผู้ให้ประโยชน์
บัณฑิตในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม และเป็นบุคคลที่สังคมยอมรับในความรู้ความสามารถ
จึงควรประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์แก่สังคมทุกเมื่อ…."
(พระราโชวาทแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันราชภัฏ ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐)
"งานราชการนั้น คืองานของแผ่นดิน
มีผลเกี่ยวเนื่องโดยตรงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนทุกคน
ดังนั้น ข้าราชการผู้ปฏิบัติบริหารงานของแผ่นดิน
จึงต้องทำความเข้าใจถึงความสำคัญในหน้าที่และความรับผิดชอบของตนให้ถ่องแท้
แล้วร่วมกันคิดร่วมกันทำด้วยความอุตสาหะ เสียสละ
และด้วยความสุจริตจริงใจ โดยถือประโยชน์ที่จะเกิดจากงานเป็นหลักใหญ่ งานของแผ่นดินทุกส่วน
จักได้ดำเนินก้าวหน้าไปพร้อมกัน และสำเร็จประโยชน์ที่พึงประสงค์
คือ ยังความเจริญมั่นคงให้เกิดแก่ประเทศชาติและประชาชนได้แท้จริงและยั่งยืนตลอดไป"
(พระราโชวาทแก่ข้าราชการพลเรือนเนื่องในวันข้าราชการพลเรือน
ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐)
"อัยการนั้นมีหน้าที่มากมายหลายอย่าง
แต่ก็อยู่ในกรอบขอบเขตของการปฏิบัติการทางด้านกฎหมายและชีวิตของราษฎร
ก็คือ ดูแลรักษาอำนวยความยุติธรรม
หรือช่วยขบวนการแห่งการยุติธรรมให้ไปได้อย่างเรียบร้อยถูกต้อง
อัยการมีหน้าที่กว้างขวาง ใส่หมวกหลายใบ มีหน้าที่มากมาย
แต่จะต้องจำไว้ว่า มีหน้าที่ที่จะอำนวยความยุติธรรม
และอำนวยการให้ขั้นตอนต่าง ๆ ของการปฏิบัติงานในการอำนวยการ
หรือให้ความยุติธรรมต่อประชาชน"
(พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะอัยการที่เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่
ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙)
"การอำนวยการหรือปฏิบัติการทางด้านความยุติธรรม และทางด้านกฎหมายนั้น
ไม่ว่าทหารหรือพลเรือนก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อความสุข ความสงบ
และความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติและประชาชน
หน้าที่ของศาลทหาร ตุลาการศาลทหาร ก็มีระบุไว้แล้วในกฎหมาย
แต่ทหารนั้นเป็นผู้ที่ได้รับการฝึกฝนและมีการจัดตั้งเป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่แล้วทางทฤษฏี
มนุษย์เราก็สามารถจะทำความผิดได้ หรือมีความผิด
เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะอาญาทหารหรือวินัยทหารก็ต้องมีการรักษา
มีการให้ความยุติธรรม และมีการแก้ไขในการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องของผู้กระทำความผิด
เพราะฉะนั้น การอำนวยการยุติธรรม ขั้นตอนที่ถูกต้อง
ก็ต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ ในด้านกฎหมาย
ตลอดจนมีความเข้าใจในชีวิต ในสังคม หรือในอุดมการณ์ของชาติ
เพราะว่ากฎหมายนั้น ใช้ให้ถูกก็ดี ใช้ให้ไม่ถูกก็เสียมาก
เพราะฉะนั้นท่านเป็นผู้มีความรู้ มีความสามารถ มีวุฒิภาวะแล้ว
ก็ย่อมพิจารณาออกว่า อะไรควร อะไรไม่ควร
และนำกฎหมายไปใช้ให้ถูกต้องเพื่อระงับทุกข์ แก้ไขในเรื่องที่ไม่ถูก
หรือมีบทพิพากษาให้เกิดความยุติธรรมได้"
(พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะผู้พิพากษา และตุลาการศาลทหาร
ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐)
พระราชกรณียกิจ
ณ จังหวัดเชียงราย
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
รงปฎิบัติพระราชกรณียกิจต่อปวงชนชาวไทยอย่างต่อเนื่องและยาวนาน
รวมทั้งพสกนิกรชาวจังหวัดเชียงรายต่างน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
ทรงเสด็จพระราชดำเนิน ปฎิบัติพระราชกรณียกิจ ณ จังหวัดเชียงรายมีดังนี้
พ.ศ. ๒๕๑๖
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
(ดำรงพระราชอิสริยยศ ขณะนั้น) ได้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์
โดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ไปยังสนามบินจังหวัดเชียงใหม่
แล้วประทับเครื่องบินพระที่นั่งไปยังจังหวัดเชียงราย ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ
และทรงเยี่ยมพร้อมพระราชทานสิ่งของแก่ชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ที่ดอยสะโงะ บ้านผาหมี
และบ้านก้อแสนใจ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๖
ท่ามกลางพสกนิกรชาวเขาที่มารอรับเสด็จกันเป็นจำนวนมาก
ที่มา: หอภาพยนตร์
พ.ศ. ๒๕๕๐
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
(ดำรงพระราชอิสริยยศ ขณะนั้น) พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
(ดำรงพระราชอิสริยยศ ขณะนั้น) เสด็จพระราชดำเนินแทนสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
ในพิธีพระราชทานเพลิงศพ ครูจูหลิง ปงกันมูล เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ณ ฌาปนสถานบ้านปงน้อย หมู่ที่ ๑๐ ตำบลปงน้อย อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย
พ.ศ. ๒๕๖๗
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี
เสด็จพระราชดำเนินไปทรงตัดหวายลูกนิมิตอุโบสถบุญชุ่มรัตนปุรี ศรีธรรมราชา
เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๗ ณ วัดพระธาตุดอยเวียงแก้ว ตำบลศรีดอนมูล อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
มีราษฎรไทยและสหภาพเมียนมา มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ
ซึ่งเดินทางมาจากพื้นที่อำเภอต่างๆ ในจังหวัดเชียงราย อาทิ อำเภอแม่สาย อำเภอแม่ฟ้าหลวง
ด้านศาสนา
พระองค์ทรงผนวชในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ และระหว่างนั้นได้ทรงศึกษาและปฏิบัติพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด
พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจทางศาสนาเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ
อาทิ ทรงเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตามฤดูกาล
เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
อาทิ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา และการถวายกฐินหลวงตามวัดต่าง ๆ
นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเป็นองค์ประธานคณะกรรมการอำนวยการก่อสร้างพระพุทธรูปเขาชีจรรย์
ที่จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นศูนย์รวมของผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา
และเป็นสถานที่ดำเนินกิจกรรมทางศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของไทย
และเมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๗ พระองค์และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี
เสด็จฯ ไปทรงตัดหวายลูกนิมิตอุโบสถวัดพระธาตุดอยเวียงแก้ว จ.เชียงราย
พร้อมทรงลงพระปรมาภิไธย และพระนามาภิไธยในแผ่นศิลา และทรงปลูกต้นรวงผึ้งไว้เป็นที่ระลึก
นอกจากการส่งเสริมพระพุทธศาสนา พระองค์ยังทรงสนับสนุนศาสนาอื่น เช่น
การเป็นผู้แทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ในการเปิดงานเมาริดกลางของศาสนาอิสลาม
และร่วมกิจกรรมส่งเสริมศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์ฮินดู และศาสนาซิกข์
ถ้ำหลวง
เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่่นักฟุตบอลและโค้ช จำนวน ๑๓ คน
ติดอยู่ภายในวนอุทยานถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย ตั้งแต่วันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑
ชาวไทยและนานาชาติให้ความสนใจ ติดตามและช่วยเหลือ จนกระทั่งได้ช่วยผู้ประสบภัยทั้ง ๑๓ คน
ออกมาได้อย่างปลอดภัยในวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ รวมระยะเวลา ๑๗ วัน
สถานการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือของทุกภาคส่วนทั้งไทยและนานาชาติ
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงห่วงใย และติดตามการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย และให้กำลังใจไปยังครอบครัวผู้ประสบภัยทุกคน
รวมถึงทรงให้กำลังใจผู้ปฎิบัติหน้าที่ในการติดตามค้นหา พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้จัดตั้งโรงครัวพระราชทาน เพื่อปรุงอาหารสำหรับแจกจ่ายให้กับผู้ปฎิบัติหน้าที่
รวมถึงผู้ปกครองทีมหมูป่า สื่อมวลชน และประชาชน ที่มาร่วมเกาะติดปฎิบัติการ "ถ้ำหลวง"
พระองค์ได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อจัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ
ที่ไม่สามารถจัดซื้อตามระบบราชการได้ทันเวลา เพื่อให้สามารถนำมาใช้ในการกู้ภัยได้ทันเหตุการณ์
ยังความปลาบปลื้มใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงานและประชาชน
หลังจากการช่วยเหลือผู้ประสบภัยออกมาได้อย่างปลอดภัย
พระองค์ได้ให้หน่วยพระราชทานและประชาชนจิตอาสาร่วมทำกิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์
และปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบของวนอุทยานถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอนให้กลับคืนสู่ธรรมชาติดังเดิม
เสด็จพระราชดำเนิน
ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงประกอบพิธีเปิดพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
และพิธีเปิดอาคารกีฬาเฉลิมพระเกียรติ ๗๒ พรรษา บรมราชินีนาถ
ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ในวันอาทิตย์ที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
พระราชทานพระราชวโรกาสให้นายกสภามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
กรรมการสภามหาวิทยาลัยอธิการบดี และผู้บริหารเข้าเฝ้าฯ
ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิชานิติศาสตร์
ณ วังศุโขทัย กรุงเทพมหานคร
วันที่ ๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๔๘
งานจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ชั้น ๓ อาคารศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ๓๓๓ หมู่ ๑ ตำบลท่าสุด อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย